รู้ เข้าใจ แต่บางอย่างรู้แล้วก็เฉย อย่าไปเที่ยวระรานเขา นั่นก็ไม่ดี ฉันเพิ่งฟังเทศน์มาไม่ถูกนะ_อันนั้นก็ไม่ใช่ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ เรียกว่าโง่อีกนั่นแหละ_เพราะไม่รู้อะไรควร รู้ เมื่อรู้แล้วมีควรพูด กับไม่ควรพูด ไม่ใช่รู้แล้วพูดได้ทุกเรื่อง รู้ทุกเรื่องแต่อย่าพูดทุกเรื่องที่รู้ ดูด้วยว่าเมื่อพูดไปแล้ว มันจะไปเบียดเบียนใครไหม ถ้าจะเบียดเบียนไม่พูดเสียล่ะควร ใบ้ เสียบ้าง บอดเสียบ้างา หนวกเสียบ้าง คืออย่างนี้
...
คือ การฝึกไปนิพพาน นี่แหล่ะ ใครไปนิพพาน คนไปนิพพานเขาเรียกว่าอรหันต์ นั่นแหละการฝึกเป็นอรหันต์ การ ฝึกใช้ชีวิตโดยให้ห่างไกลจากกิเลส_จากสิ่งที่จะทำให้เราขุ่นมัว คำจริงอย่างเมื่อกี้ เมื่อพูดไปแล้วทำให้ขุ่นมัว คนอื่นจะต้องมาเกลียดมาชังมาอะไรเรา ก็จะทำให้จิตของเราหวั่นไหว กระเพื่อม มันขุ่นมัวไปเปล่าๆ ก็อย่าไปพูด อย่าไปเอ่ยถึง รู้ว่าอะไรควรใบ้_เวลาไหนควรบอด เห็นแต่เราจะพูดว่าไม่เห็นก็ไม่ได้ แต่ถ้าพูดว่าเห็นคนอื่นเขาจะลำบาก เฉย อย่างนั้นเฉย ไม่บอกว่าเห็นหรือไม่เห็น เฉยซะ_จบ
...
เอ๊าก็เห็นแล้วไม่พูด นี่ไม่ถือว่าบาปเหรอ ไม่บาป เมื่อกี้แกเห็นใช่ไหม เฉย เมื่อกี้แกไม่เห็นเหรอ เฉย ถ้าบอกว่าเห็นมันก็จะเป็นบาปแก่คนอื่น_บอกว่าไม่เห็นก็จะเป็นเท็จ เพราะเราเห็นอยู่อย่างนี้เป็นต้น อันนี้แหละคนเราบางครั้งเกิดมาใช้ชีวิตก็จะต้องเจอกับสิ่งเหล่านี้ พระพุทธเจ้าจึงเทศน์เรื่องนี้ไว้ รู้ทุกอย่างแต่ไม่จำเป็นต้องพูดทุกอย่าง ก็ได้ เห็นทุกอย่าง ได้ยินทุกอย่าง แต่ก็ไม่ต้องทำตามที่เห็นทำตามที่ได้ยินทุกอย่างก็ได้ ถ้าทำไปแล้วมันขุ่นมัว มันเป็นการเบียดเบียนตัวเอง หรือเบียดเบียนคนอื่น ดึงลงอุเบกขา เฉยเสีย
...
เดี๋ยวจะไปเข้าใจว่าคนปฏิบัติธรรมนี่น่ากลัว ทำไมเล่า เขาพูดหมดเปลือกทุกอย่างทุกเรื่องเลย ก็แย่สิเราน่ะ ไม่หรอก ตัวปัญญามันไปกำกับเอง เขาจะตรวจพูดไปเบียดเบียนใครไหม จะเกิดผลดีหรือผลร้าย ถ้าเป็นผลร้ายไม่พูด ถ้าเป็นผลดี พูด
บรรยายธรรมเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓