คิดเป็น เห็นธรรม

คิดเป็น เห็นธรรม คิดเป็น เห็นธรรม

เพราะอยากจะเป็นคนดี จึงจำต้องฝืนอดทนเอาชนะความขี้เกียจ

  • 2024,Nov 20
  • 2996

ฝึกอดทนเอาชนะความขี้เกียจ อากาศเย็นแล้วมันจะขี้เกียจ ร้อนมันก็ขี้เกียจ จึงไม่ผิดที่เป็นคนแล้วเจอหนาวเจอร้อนมันก็ไม่คุ้นเคย นิสัยโดยธรรมชาติมันก็อยากจะหลบจะหลีก จะเอาตัวรอดมันเป็นนิสัยธรรมชาติ หนาวมันก็ต้องวิ่งหาที่อุ่น ก็เลยว่ามันเป็นหน้าที่ที่จะต้องกระทำในท่ามกลางของความร้อนความเย็นเหล่านั้น บางทีขณะเราหิว จำจะต้องเดินต้องไป หรือจำจะต้องทำข้อวัตร ก็ต้องทำทั้งๆ ที่มันหิวนั่นแหล่ะ ทำไปทั้งที่มันขี้เกียจ อย่างนั้นเรียกว่าฝืนทำ ฝืนไปจนกว่าจะกลายเป็นความเคยชิน เป็นนิสัย เพราะถึงอย่างไรก็ต้องทำอยู่ดีเพราะมันเป็นการทำดี

...

มันก็เพิ่มระดับของความฝืน กลายเป็นทำด้วยความสมัครใจ เต็มใจ ตรงนี้เรียกว่าฉันทะ (อิทธิบาทสี่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) มันจะเกิดเป็นอิทธิ เป็นฤทธ์ถ้าเราฝืนมันได้ ฝืนอะไรเห็นไหม ไล่กันมาตั้งแต่ต้น ฝืนความเกียจคร้าน ฝืนความไม่พอใจไม่ชอบใจ เหตุที่ฝืนมันก็ต้องมีแรงจูงใจเพราะอยากจะเป็นคนดี อยากจะพ้นจากบาป ที่จะตามทัน อยากไถ่ถอนตัวเองจากการที่เคยประพฤติผิด ประพฤติบาป แรงตัวนั้นเป็นตัวผลักดันทำให้ตัวเกียจคร้านหรือขี้เกียจ จะกลายเป็นขยัน ทำให้ ความฝืนกลายเป็นความพึงพอใจ ไม่เป็นไรหรอกหนาวเดี๋ยวก็หาย ร้อนไปอาบน้ำเดี๋ยวก็หาย ถ้าเราเป็นเปลี้ยเป็นง่อยเจ็บไข้ได้ป่วยไม่มีเรี่ยวไม่มีแรง อย่างนั้นเสียอีก จึงว่ากระทำไม่ได้ แต่นี่ไม่ใช่ กายนี้มีสภาพทนต่อร้อนต่อหนาว จึงได้มาเกิดบนโลกนี้

...

ตัวนี้เป็นแรงจูงใจจากการที่เราได้คิดแล้ว ได้พิจารณาแล้ว ต่อไปก็จึงไม่ได้กลัวร้อนกลัวหนาว ขจัดความกลัวต่อความลำบาก เกิดเป็นนิสัยธรรมใหม่ขึ้นมา เห็นไหม จะมีอิทธิ อิทธิบาท คือจิตก็จะไม่หดหู่ไม่เศร้าหมอง จริงๆ แล้วมันไม่เต็มใจทำนั่นแหล่ะมันหดหู่เศร้าหมอง แต่นี่อย่างไรล่ะ ไหนๆ ก็ต้องทำ เกี่ยวอะไรกันล่ะ เย็นดีนึกถึงตอนที่ร้อนสิร้อนเราก็ต้องหลบเข้าร่มกลางวันทำอะไรไม่ได้เลย แต่นี่เย็น โอ้เย็นดี ปีหนึ่งเย็นไม่ถึงสามเดือนหรอก ร้อนน่ะมากกว่า เอาสิ่งทั้งหลายมาอบรมตัวเอง เอามาเป็นเหตุเป็นผลให้กับตัวเอง ด้วยความพึงพอใจ

...

อย่างนี้คือ การสอนตัวเอง ก็ต้องมีอุบายที่เป็นจริงด้วยนะ ไม่ใช่หรอกตัวเอง ให้เหตุให้ผลละเอียดยิยเลย เพราะเรารู้ว่าหลอกไม่ได้ เสแสร้งแกล้งทำมันแกล้งไม่ได้ เพราะตัวเสแสร้งก็ต้องกำจัดไปอีก เหตุใดจึงทำเช่นนี้ เหตุใดจึงต้องขยัน เป็นเหตุผลไม่มีเข้าข้างตัวเอง ไม่มีลำเอียงแม้กระทั่งกับตัวเอง ถ้าเรายังลำเอียงกับตัวเองจะเป็นที่พึ่งของใครได้ ใครจะไว้ใจเราได้ ว่าเป็นคนซื่อคนตรงก็คงไม่ได้ นี่แหล่ะพื้นฐานแห่งความดีทั้งปวงเกิดขึ้นจากการที่เราอบรมตัวเอง ได้หลักได้แนวในการประพฤติปฏิบัติไปแล้วนี่ ต่อไปเป็นหน้าที่ของเจ้าของ หมั่นระลึกนึกถึงคำสอนอยู่บ่อยๆ เนืองๆ ไหม ได้ทำตามคำสอนอยู่เนืองๆ ไหม ทำไปแล้วตรวจผลตรวจการบ้าน เรานับถือศาสนาพุทธมากี่ปีแล้ว หรือตั้งแต่เกิด นั่นกำไรอีก ตั้งแต่เกิดนะโมตะสะยังไม่ได้เลย พ่อแบกใส่บ่ามาวัดแล้ว กำไรล้วนๆ เลย จนถึงสี่ขวบห้าขวบ นะโม ตะสะเป็นแล้ว นั่นแหล่ะการตรวจตน

...

มันเป็นการสร้างนิสัย เขาเรียกว่านิสัยธรรม นิสัยที่ตรงกับความเป็นจริง คนควรมีนิสัยอย่างไร ถ้าจะสรุป แล้วมันก็ควรจะเป็นอย่างไรหรือคน คนควรมีเหตุผลในการกระทำทุกเรื่อง นั่นแหล่ะคนล่ะ คนที่ถูกที่ตรงที่ทำอะไรไปมีเหตุผลทุกเรื่อง และเหตุผลนั้นจะต้องตรง เป็นเหตุผลที่ห่างไกลจากกิเลส เป็นเหตุผลที่ตรงกับหลักจักรวาล ตรงกับความจริงที่พระพุทธเจ้าไปทราบมาจากจักรวาล เพราะหลายอย่างเราอาจจะไม่ทราบเอง เมื่อยังไม่ทราบเอง เสาหลักของเราที่จะเป็นแนว เป็นทีระ เป็นแบบเป็นแนว มีธีระธรรมเป็นแบบเป็นแนว


หลวงพ่อเฉลิมโชค ฉันทชาโต
บรรยายธรรมเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564