คิดเป็น เห็นธรรม

คิดเป็น เห็นธรรม คิดเป็น เห็นธรรม

ใช้ความทุกข์ เป็นเครื่องมือในการหนีทุกข์

  • 2024,Nov 20
  • 2945

(ก่อนหน้ากล่าวถึงความทุกข์จากความพลัดพรากของพระปฏาจาราเถรี...) อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไป มีสุข เดี๋ยวก็มีทุกข์ มีเกิดก็มีตาย มีสมหวังก็มีผิดหวัง เป็นธรรมชาติของทุกคนแหละใช่เฉพาะแต่ปฏาจารา แต่วันนี้เท่านั้นแหละ ขณะนี้เท่านั้นที่มันเป็นโชคร้ายของปฏาจาราที่อยู่ต่อหน้าเรา แต่ผู้ที่ไม่ได้มาอยู่ต่อหน้าที่เป็นเช่นกับปฏาจารานั้นก็มีอยู่ 

...

มันเป็นธรรมชาติซึ่งความทุกข์อย่างนี้ อนิจจังนำไปสู่ความทุกข์ ทุกขัง ว่ามันเปลี่ยนแปลงไปมันไม่ถูกใจเรา เราก็ทุกข์กับมัน พอทุกข์มันก็ไม่ใช่ว่าจะกลับคืนมาเหมือนเดิม มันเกิดขึ้นแล้วมันดับไปแล้ว ถึงเราจะทุกข์มาก ทุกข์น้อย หรือไม่ทุกข์เลย มันก็ไม่ได้ฟื้นคืนขึ้นมาได้ อันว่า ความทุกข์นี่ก็วางเสีย ถ้าเราไม่วางเรา มาทุกข์ถึงมันอยู่ แล้วมันจะเกิดกลับคืน เราก็จงมาช่วยกันทุกข์เถิด แต่นี้มันไม่ใช่ มันเปลี่ยนไปแล้ว เหตุการณ์นั้นมันสิ้นสุดไปแล้ว ก็วางมันเสีย

...

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราไปสั่งให้มันเกิดก็ไม่ใช่ มันเกิดเอง เราจะไปห้ามว่าอย่าเกิด มันก็ไม่ฟัง เรามีสิทธิ์จะห้ามได้นะ ขอสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายอย่าปรากฏในวิถีชีวิตเราเลย เห็นก็ขอกันอยู่อย่างนั้น ขอตำแหน่งของเศรษฐีจงมีแก่เราในปัจจุบันชาติด้วยเถอะ ก็เห็นจะขอกันอยู่อย่างนั้นแหละ

...

ขอได้ แต่มันให้ไม่ได้ มันไม่ได้เป็นไปตามที่เราจะสั่งหรอก สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ แรงกรรมทั้งหลายที่เราได้กระทำไว้ เมื่อมันบริบูรณ์เมื่อใดมันก็ส่งผลเมื่อนั้น ทั้งแรงดี ก็จะส่งผลที่ดี แรงชั่วก็ส่งผลที่ชั่ว มันส่งผลของมันเอง ใช่เป็นไปตามที่เราบังคับบัญชา สิ่งอย่างนี้เรียกว่าเราบังคับบัญชามันไม่ได้ เกิดเอง ตั้งอยู่ขณะหนึ่ง แล้วก็ดับไปเอง สูญหายไปเอง เรียกเป็นภาษาบาลีว่าอนัตตา

...

อนัตตาเป็นกฎของไตรลักษณ์ที่ต่อจากเมื่อวานนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อวานปรารถถึงอนิจจังไป แล้วเวลาก็ไปหมด วันนี้ได้อย่างไรก็ไม่รู้ มาชนกันอีกได้อย่างไรไม่รู้ล่ะ คนละเรื่องแต่อันเดียวกัน ไม่ว่าจะเทศน์กัณฑ์ไหน ถ้าโยงมาหากันมันเกินจากกฏของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ได้สักเรื่อง อย่างไงมันก็ต้องเข้ากันได้ ถ้าจะโยงนะ

...

แสดงธรรมหรือสัมโมทนียกถาทั้งหลายของพระศาสดา แต่ละกัณฑ์ทุกกัณฑ์ที่ท่านแสดงโยงไปลงอันเดียวกันหมดเช่นกัน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกเรื่อง จะเหตุการณ์เก่าหรือจะเป็นเหตุการณ์ใหม่ มันก็อยู่ภายใต้กฎของความไม่เที่ยง กฎของไตรลักษณ์นี้เช่นเดียวกันหมด ผลที่สุดเทศน์จบ ปฏาจาราดวงตาเห็นธรรม โสดาปัตติผลเกิดขึ้นแก่นาง เข้าใจ เคยจะกลับมาพึ่งพ่อพึ่งแม่พึ่งสามี เคยห่วงลูกห่วงทรัพย์ไม่เอาเลย จะบวช 

...

พระศาสดาก็อนุญาตให้ไปบวชที่สำนักของนางภิกษุณี แล้วก็มาบวชในสำนักของภิกษุ บวชในสงฆ์สองฝ่ายเป็นภิกษุณี ไปพากเพียรอยู่ไม่นานนัก ด้วยปัญญาบารมีแก่กล้าแล้ว เห็นทุกข์ เหตุการณ์ที่มันเป็นทุกข์นี่ อย่าว่ามันเป็นโทษอย่างเดียวเน้อ ผู้มีปัญญาใช้เป็น เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เราหนีวัฏสงสารได้อย่างดี ไม่อยากเกิดอีก ไม่อยากพบอยากเจออีก อยากจะหนีซะให้พ้นให้ไกล 

...

พระศาสนาบอกทางหนีนั้น รู้ทางหนี ถ้าไม่อยากพบอยากเจอต้องนิพพาน ต้องปล่อยวาง อย่ายึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ให้เข้าใจคือเรื่องไตรลักษณ์ สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เหมือนกันหมด ตายช้าบ้าง ตายเร็วบ้าง ตายแต่เด็กบ้าง ตายแต่หนุ่มบ้าง ตายแต่แก่บ้าง โอ้ ธรรมชาติเนอะ ตักน้ำขึ้น ล้างไปที่เท้าหลังจากกลับมาจากบิณฑบาต บรรลุเอาอิตอนนั้นน่ะ

...

น้ำขันแรกราดลงไปมันก็ไหลไปตามดิน จากเท้าแล้วมันก็ไหลไปกับดิน ดินมันแห้งมันโศกอยู่มันก็ไปสิ้นสุด ถูกดินซึมซับลงไปหมด แห้ง ขันที่สองราดลงไปที่เท้ามันไปต่ออีก มันไหลต่อจากเมื่อกี้ไป ไปไกลหน่อย แล้วก็แห้ง โอ้ น้ำไม่มีชีวิตจิตใจก็มีการหายไป แห้งไป ดับไป ขันแรกหายเร็ว ขันที่สองไกลไปอีกหน่อย ไม่ต่างอะไรกับชีวิตของคนหรอกเนอะ ตายเร็ว ตายช้า มันก็แห้งเหมือนกันหมด ไหลไปสู่การแห้งการถูกซึมซับ เปรียบเสมือนเกิดมาเพื่อที่จะรอวันดับวันตาย เหมือนกับสายน้ำนี่แหละ คนเราก็เหมือนกันอย่างนี้แหละ 

...

น้ำขันไหนที่จะไม่แห้ง ไม่มี จะไหลไปโดยไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีหรอก ก็น้ำแค่ขันหนึ่ง แล้วใครจะอยู่ตลอดรอดไปได้ โดยไม่ตาย ไม่มี มันเป็นเช่นนี้หนอ ชีวิตเป็นเช่นนี้หนอ เข้าใจในเรื่องของการเกิดดับ เอาแจ่มเอาแจ้งอิตอนนั้นแหละ ก็เลยบรรลุธรรม หายทุกข์ หายโศก ไม่ได้คิดเลยว่าตัวเองสูญเสียลูก สูญเสียสามี ธรรมดา ธรรมชาติ ไม่มีการแล้วที่จะพิร่ำพิไรรำพัน หมดไปจากจิตใจ จิตที่มันบรรลุนี่มันจะไม่มีอาการพิร่ำพิไรรำพัน นางก็รู้ คนบรรลุก็จะรู้ของตัวเอง นั่นแหละ ปฏาจาราเถรีเข้านิพพานไปแล้ว โดยใช้สถานการณ์ของความทุกข์ ทุกข์หนักๆ 

...

เท่าที่ฟังมาลองเอาของตัวเราเองที่ว่าทุกข์ไปเทียบกับนางดูเถอะ ถ้าใครเท่านางก็น่าจะบรรลุเร็ว หรือว่าใครบอกฉันทุกข์ยิ่งกว่านางอีก โถทำไมไม่บรรลุซะทีล่ะ ถ้าทุกข์ยิ่งกว่านางมันจะต้องมีปัญญาแล้ว เห็นทุกข์ล่ะ มาแข่งกันทุกข์ เอ๊า ขอให้มันเห็นทุกข์ให้จริงเถอะ ว่าใครทุกข์กว่าใครมา คนที่ทุกข์มากจะได้เปรียบนะ เพราะจิตมันจะยึดมั่นถือมั่น ไม่มีอะไรให้ยึดล่ะ เพราะมันทุกข์ ทุกข์มาก สำคัญว่ามันจะไม่ทุกข์นะฮึ มันจะทุกข์น้อย 

ฟังเสียงบทบรรยายธรรมฉบับเต็มได้ที่นี่คะ (นาทีที่ 54 - 1.06 ) https://www.youtube.com/watch?v=8TaoMGhPJcQ
...

หลวงพ่อเฉลิมโชค ฉันทชาโต
ส่วนหนี่งจากการบรรยายธรรมเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555